ประเทศญี่ปุ่นนอกจากจะมีปัญหาอัตราการเกิดของเด็กที่ลดลงแล้ว ยังมีปัญหาการฆ่าตัวตายอีกด้วยที่เป็นปัญหาอย่างหนักและไม่ได้มีแค่เฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น การฆ่าตัวตายในเด็กนักเรียนก็มีเช่นกันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยทั้งนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย ไปดูรายละเอียดสถิติการฆ่าตัวตายในเด็กและเหตุผลในการฆ่าตัวตายกันค่ะ
จากข้อมูลสรุปของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พบว่าจำนวนเด็กนักเรียนชั้นประถม ชั้นมัธยมต้น และชั้นมัธยมปลายที่ฆ่าตัวตายในปี 2018 มีจำนวน 332 คน เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน แจกแจงคือนักเรียนชั้นประถมจำนวน 5 คน ชั้นมัธยมต้น 100 คน และชั้นมัธยมปลาย 227 คน จำนวนนักเรียนมัธยมปลายที่ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 42% จากปีก่อน
แยกเพศเป็น ผู้ชาย 193 คน ผู้หญิง 139 คน พบว่าในตอนนี้มีจำนวนตัวเลขของเด็กนักเรียนที่ฆ่าตัวตายนั้นถือว่ามากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 1988
จำนวนคนที่ฆ่าตัวตายทั้งหมดในญี่ปุ่น (ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, รวบรวมแบบรายปี) ในปี 2003 ได้เป็นไปในทิศทางที่ติดลบ โดยมีจำนวนคนฆ่าตัวตายสูงถึง 34,427 คน แต่นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาก็มีจำนวนคนฆ่าตัวตายลดลงแบบปีต่อปีอย่างต่อเนื่องมา 9 ปีแล้ว แต่ในทางกลับกันมีอัตราการเกิดและจำนวนนักเรียนลดลง แถมการฆ่าตัวตายในเด็กนั้นเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายในปี 2006 มีคนฆ่าตัวตาย 1.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน แต่ในปี 2018 กลับมีคนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 คน ต่อประชากร 100,000 คน
ส่วนเหตุผลในการฆ่าตัวตายคือ “มีปัญหากับครอบครัว” (12.3%) และ “โดนพ่อแม่และผู้อื่นดุด่าต่อว่า” (9.0%) สองเหตุผลนี้มีคนตอบมากและเป็นเหตุผลที่ชัดเจนที่สุด ในขณะที่ปัญหา “การถูกกลั่นแกล้ง” มีเพียง 2.7% แต่เหตุผลการฆ่าตัวตายที่ไม่ทราบแน่ชัดมีมากถึง 60% เลยทีเดียว
แหล่งที่มา : ผลสำรวจจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ปี 2018)
จะตารางนั้นจะเห็นได้ว่าการฆ่าตัวตายจากการถูกกลั่นแกล้งนั้นมีจำนวน 9 คนซึ่งผิดไปจากที่คิดใช่ไหมล่ะคะ เพราะจากที่เราได้เห็นจากข่าว ซีรีส์ หรือภาพยนตร์บ่อย ๆ นั้นจะมีเด็กถูกกลั่นแกล้งเยอะนั่นเองค่ะก็เลยทำให้คิดว่าเหตุผลการฆ่าตัวนั้นจะมาจากการถูกกลั่นแกล้ง แต่เหตุผลจริง ๆ นั้นส่วนใหญ่จะมาจากผู้ปกครองนั่นแหละค่ะ และเหตุผลที่ไม่ทราบแน่ชัดนั้นมีมากถึง 194 คนเลยทีเดียว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นแรงผลักดันให้เด็ก ๆ นั้นฆ่าตัวตายค่ะ
ที่มา : https://www.nippon.com/ja/japan-data/h00572/
จากข้อมูลสรุปของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พบว่าจำนวนเด็กนักเรียนชั้นประถม ชั้นมัธยมต้น และชั้นมัธยมปลายที่ฆ่าตัวตายในปี 2018 มีจำนวน 332 คน เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน แจกแจงคือนักเรียนชั้นประถมจำนวน 5 คน ชั้นมัธยมต้น 100 คน และชั้นมัธยมปลาย 227 คน จำนวนนักเรียนมัธยมปลายที่ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 42% จากปีก่อน
แยกเพศเป็น ผู้ชาย 193 คน ผู้หญิง 139 คน พบว่าในตอนนี้มีจำนวนตัวเลขของเด็กนักเรียนที่ฆ่าตัวตายนั้นถือว่ามากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 1988
กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเด็กนักเรียนที่ฆ่าตัวตาย
จำนวนคนที่ฆ่าตัวตายทั้งหมดในญี่ปุ่น (ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, รวบรวมแบบรายปี) ในปี 2003 ได้เป็นไปในทิศทางที่ติดลบ โดยมีจำนวนคนฆ่าตัวตายสูงถึง 34,427 คน แต่นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาก็มีจำนวนคนฆ่าตัวตายลดลงแบบปีต่อปีอย่างต่อเนื่องมา 9 ปีแล้ว แต่ในทางกลับกันมีอัตราการเกิดและจำนวนนักเรียนลดลง แถมการฆ่าตัวตายในเด็กนั้นเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายในปี 2006 มีคนฆ่าตัวตาย 1.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน แต่ในปี 2018 กลับมีคนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 คน ต่อประชากร 100,000 คน
ส่วนเหตุผลในการฆ่าตัวตายคือ “มีปัญหากับครอบครัว” (12.3%) และ “โดนพ่อแม่และผู้อื่นดุด่าต่อว่า” (9.0%) สองเหตุผลนี้มีคนตอบมากและเป็นเหตุผลที่ชัดเจนที่สุด ในขณะที่ปัญหา “การถูกกลั่นแกล้ง” มีเพียง 2.7% แต่เหตุผลการฆ่าตัวตายที่ไม่ทราบแน่ชัดมีมากถึง 60% เลยทีเดียว
เหตุผลของการฆ่าตัวตาย
แหล่งที่มา : ผลสำรวจจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ปี 2018)
จะตารางนั้นจะเห็นได้ว่าการฆ่าตัวตายจากการถูกกลั่นแกล้งนั้นมีจำนวน 9 คนซึ่งผิดไปจากที่คิดใช่ไหมล่ะคะ เพราะจากที่เราได้เห็นจากข่าว ซีรีส์ หรือภาพยนตร์บ่อย ๆ นั้นจะมีเด็กถูกกลั่นแกล้งเยอะนั่นเองค่ะก็เลยทำให้คิดว่าเหตุผลการฆ่าตัวนั้นจะมาจากการถูกกลั่นแกล้ง แต่เหตุผลจริง ๆ นั้นส่วนใหญ่จะมาจากผู้ปกครองนั่นแหละค่ะ และเหตุผลที่ไม่ทราบแน่ชัดนั้นมีมากถึง 194 คนเลยทีเดียว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นแรงผลักดันให้เด็ก ๆ นั้นฆ่าตัวตายค่ะ
ที่มา : https://www.nippon.com/ja/japan-data/h00572/