เมื่อพูดถึง “ชา” แน่นอนว่าสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงนั่นก็คือ “ชาเขียว หรือ ชาญี่ปุ่น” เพราะเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับนิยมอย่างกว้างขวาง และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ไม่ดื่มกาแฟ เนื่องจากมีคุณประโยชน์คล้ายกัน แต่รู้หรือไม่ว่า “ชา” สามารถแบ่งโดยระดับของการหมักได้ 3 ประเภท ดังนี้
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกที่ “ชาเขียว” กันค่ะ มีหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า “ชาเขียว” ก็มีการแบ่งประเภทย่อย ๆ ออกไปอีกหลายประเภทด้วยเช่นกัน!! วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 8 ชาเขียวญี่ปุ่นยอดนิยม มาให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกันค่ะ จะมีชาเขียวอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย ..
เซนฉะ เป็นชาเขียวที่คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคมากที่สุด ผลิตโดยการอบด้วยความร้อน (การนึ่งและการคั่ว) ใบชาในสภาพใบสด ซึ่งการอบใบสดด้วยความร้อนเป็นการปรับรูปร่างของใบชา ทำให้ปริมาณน้ำในใบชาลดลงในระดับหนึ่งเพื่อให้ทนทานต่อการเก็บรักษา ชาที่ทำโดยวิธีการนี้เรียกว่า "เซนฉะ" จะมีกลิ่นหอมสดชื่น รสฝาดอร่อย
เกียวคุโระ เป็นชาที่ปลูกโดยมีการคลุมไร่ชาเมื่อยอดชาเริ่มโผล่ได้ประมาณ 2-3 ใบ ด้วยผ้ากรองแสง(สแลน) เป็นระยะเวลาประมาณ 20 วันขึ้นไป กระบวนการนี้จะทำให้ต้นชาเจริญเติบโตช้า สีของใบชาเข้มขึ้นและการผลิตกรดอะมิโน(ธีอะนิน)ให้เป็นคาเทชินที่มีรสฝาดถูกระงับ จึงทำให้ชามีรสชาติฝาดน้อยลง เกียวคุโระจึงมีความหวานกลมกล่อมและเข้มข้น
มัทฉะ ทำมาจากใบชาที่มีชื่อว่า เทนฉะ (คำว่า “เทน” เขียนว่า "碾" ซึ่งหมายถึงการบด) ใบชาเทนฉะจะปลูกโดยมีการคลุมไร่ชาก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วัน (ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สำคัญต่อคุณภาพของมัทฉะ และเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้สีของใบชาเข้มขึ้น) จากนั้นจะถูกทำให้แห้งก่อนนำมาบดด้วยโม่หินหรือเครื่องบดละเอียด เป็นชาที่ขาดไม่ได้สำหรับพิธีชงชา โดดเด่นด้วยความหวานกลมกล่อมแทบไม่รู้สึกฝาด นอกจากนี้ยังใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเครื่องดื่ม ขนมหวาน และไอศกรีมอีกด้วย
คาบุเซะฉะ เป็นชาที่ปลูกโดยคลุมไร่ชาด้วยผ้ากรองแสง(สแลน)ประมาณหนึ่งสัปดาห์(เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้สีของใบชาเข้มขึ้น มีความฝาดน้อยลงและมีรสชาติเข้มข้นขึ้น) หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะมีกระบวนการผลิตตามขั้นตอนเดียวกับเซนฉะ เนื่องจากคาบุเซะฉะมีระยะเวลาการคลุมไร่ชาสั้นกว่าของเกียวคุโระ รสชาติจึงอยู่ระหว่าง เกียวคุโระ และ เซนฉะ
บันฉะ มีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับพื้นที่ คุณภาพ และระยะเวลาในการเก็บใบชา
一番茶 (Ichibancha) เป็นชาคุณภาพค่อนข้างดี เนื่องจากถูกคัดมาด้วยมือ จะเก็บเกี่ยวยอดชาที่เติบโตในช่วงต้นปีหลังจากเก็บเกี่ยวยอดอ่อนใบชาไปแล้วครั้งหนึ่ง และการเก็บเกี่ยวในครั้งต่อไปหลังจาก 一番茶 (Ichibancha) นี้จะถูกเรียกว่า 二番茶(Ni Bancha) และ 三番茶(San Bancha) ตามลำดับ
二番茶(Nibancha) และ 三番茶(Sanbancha) นั้นเป็นการเก็บเกี่ยวใบชาหลังจาก 一番茶 (Ichibancha) แต่จะไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยวยอดอ่อนทันที แต่จะรอเก็บเกี่ยวเมื่อกิ่งและใบโตเต็มที่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ ชาทั้ง 3 ประเภทเหล่านี้จึงเรียกรวมกันว่าบันฉะ
ชาที่ใช้ยอดอ่อนของใบชา(ใบชาที่มีอายุน้อย)ก็จะยิ่งมีคาเฟอีนมากขึ้น ดังนั้นปริมาณคาเฟอีนของบันฉะที่ทำจากใบชาที่โตเต็มที่จึงค่อนข้างต่ำ จึงเป็นชาที่เหมาะกับร่างกาย รสชาติอร่อย หวานน้อย และสดชื่นจึงสามารถดื่มได้ทุกวัน แม้ว่าจะมีราคาถูกและถือได้ว่าเป็นชาเกรดต่ำ แต่ด้วยรสชาติกลาง ๆ จึงเป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมาก
โฮจิฉะ เป็นการนำใบและก้านชา เซนฉะ และบันฉะ ไปคั่วผสมรวมกันด้วยไฟแรงจนกลายเป็นสีน้ำตาลทองเพื่อให้ได้กลิ่นหอม จากนั้นจะถูกนำเข้าเครื่องคั่วชาเพื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 200 องศาจนเกิดกลิ่นหอมของชาคั่ว แล้วถูกทำให้เย็นลงทันที
กลิ่นหอมทำให้สดชื่นในปากจึงเป็นที่นิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายหลังมื้ออาหาร โฮจิฉะมีคาเฟอีนและแทนนินต่ำ จึงสามารถดื่มได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
ทามะเรียวคุฉะ กระบวนการผลิตไม่แตกต่างกับเซนฉะมากนัก แต่จะใส่ใบชาลงในถังหมุนและทำให้แห้งด้วยลมร้อน และไม่มีขั้นตอนการนวดใบชาขณะทำการตากให้แห้ง ดังนั้นใบชาจึงเป็นลักษณะโค้งงอ เป็นกลม ๆ เรียกอีกอย่างว่า มุชิกุริ (ムシグリ) หรือ กุริฉะ (ぐり茶) โดดเด่นด้วยรสชาติกลมกล่อมและมีความฝาดเล็กน้อย
เกนไมฉะ เป็นชาที่มีข้าวคั่วผสมอยู่ โดยใช้เซนฉะและบันฉะ ใส่ผสมลงไปในปริมาณใกล้เคียงกัน ทำให้เวลาดื่มจะได้กลิ่นหอมของข้าวคั่วพร้อมกับรสชาติอันสดชื่นของเซนฉะและบันฉะ เนื่องจากปริมาณของเซนฉะและบันฉะที่ใช้ลดลงเพราะมีส่วนผสมของข้าวคั่วด้วย ทำให้ชาชนิดนี้มีคาเฟอีนน้อยจึงเหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ
ที่มา ocha.tv shop.senchado.jp minorien.jp syunpou.com
- ชาที่ไม่ผ่านการหมักคือ ชาเขียว
- ชากึ่งหมักคือ ชาอู่หลง
- ชาที่ผ่านการหมักอย่างเต็มที่คือ ชาดำ(หรือชาแดง)
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกที่ “ชาเขียว” กันค่ะ มีหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า “ชาเขียว” ก็มีการแบ่งประเภทย่อย ๆ ออกไปอีกหลายประเภทด้วยเช่นกัน!! วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 8 ชาเขียวญี่ปุ่นยอดนิยม มาให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกันค่ะ จะมีชาเขียวอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย ..
1.เซนฉะ [ 煎茶:Sencha ]
เซนฉะ เป็นชาเขียวที่คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคมากที่สุด ผลิตโดยการอบด้วยความร้อน (การนึ่งและการคั่ว) ใบชาในสภาพใบสด ซึ่งการอบใบสดด้วยความร้อนเป็นการปรับรูปร่างของใบชา ทำให้ปริมาณน้ำในใบชาลดลงในระดับหนึ่งเพื่อให้ทนทานต่อการเก็บรักษา ชาที่ทำโดยวิธีการนี้เรียกว่า "เซนฉะ" จะมีกลิ่นหอมสดชื่น รสฝาดอร่อย
2. เกียวคุโระ [ 玉露 :Gyokuro ]
เกียวคุโระ เป็นชาที่ปลูกโดยมีการคลุมไร่ชาเมื่อยอดชาเริ่มโผล่ได้ประมาณ 2-3 ใบ ด้วยผ้ากรองแสง(สแลน) เป็นระยะเวลาประมาณ 20 วันขึ้นไป กระบวนการนี้จะทำให้ต้นชาเจริญเติบโตช้า สีของใบชาเข้มขึ้นและการผลิตกรดอะมิโน(ธีอะนิน)ให้เป็นคาเทชินที่มีรสฝาดถูกระงับ จึงทำให้ชามีรสชาติฝาดน้อยลง เกียวคุโระจึงมีความหวานกลมกล่อมและเข้มข้น
3. มัทฉะ [ 抹茶 :Matcha ]
มัทฉะ ทำมาจากใบชาที่มีชื่อว่า เทนฉะ (คำว่า “เทน” เขียนว่า "碾" ซึ่งหมายถึงการบด) ใบชาเทนฉะจะปลูกโดยมีการคลุมไร่ชาก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วัน (ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สำคัญต่อคุณภาพของมัทฉะ และเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้สีของใบชาเข้มขึ้น) จากนั้นจะถูกทำให้แห้งก่อนนำมาบดด้วยโม่หินหรือเครื่องบดละเอียด เป็นชาที่ขาดไม่ได้สำหรับพิธีชงชา โดดเด่นด้วยความหวานกลมกล่อมแทบไม่รู้สึกฝาด นอกจากนี้ยังใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเครื่องดื่ม ขนมหวาน และไอศกรีมอีกด้วย
4. คาบุเซะฉะ [ かぶせ茶 :Kabusecha ]
คาบุเซะฉะ เป็นชาที่ปลูกโดยคลุมไร่ชาด้วยผ้ากรองแสง(สแลน)ประมาณหนึ่งสัปดาห์(เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้สีของใบชาเข้มขึ้น มีความฝาดน้อยลงและมีรสชาติเข้มข้นขึ้น) หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะมีกระบวนการผลิตตามขั้นตอนเดียวกับเซนฉะ เนื่องจากคาบุเซะฉะมีระยะเวลาการคลุมไร่ชาสั้นกว่าของเกียวคุโระ รสชาติจึงอยู่ระหว่าง เกียวคุโระ และ เซนฉะ
5. บันฉะ [ 番茶 :Bancha ]
บันฉะ มีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับพื้นที่ คุณภาพ และระยะเวลาในการเก็บใบชา
一番茶 (Ichibancha) เป็นชาคุณภาพค่อนข้างดี เนื่องจากถูกคัดมาด้วยมือ จะเก็บเกี่ยวยอดชาที่เติบโตในช่วงต้นปีหลังจากเก็บเกี่ยวยอดอ่อนใบชาไปแล้วครั้งหนึ่ง และการเก็บเกี่ยวในครั้งต่อไปหลังจาก 一番茶 (Ichibancha) นี้จะถูกเรียกว่า 二番茶(Ni Bancha) และ 三番茶(San Bancha) ตามลำดับ
二番茶(Nibancha) และ 三番茶(Sanbancha) นั้นเป็นการเก็บเกี่ยวใบชาหลังจาก 一番茶 (Ichibancha) แต่จะไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยวยอดอ่อนทันที แต่จะรอเก็บเกี่ยวเมื่อกิ่งและใบโตเต็มที่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ ชาทั้ง 3 ประเภทเหล่านี้จึงเรียกรวมกันว่าบันฉะ
ชาที่ใช้ยอดอ่อนของใบชา(ใบชาที่มีอายุน้อย)ก็จะยิ่งมีคาเฟอีนมากขึ้น ดังนั้นปริมาณคาเฟอีนของบันฉะที่ทำจากใบชาที่โตเต็มที่จึงค่อนข้างต่ำ จึงเป็นชาที่เหมาะกับร่างกาย รสชาติอร่อย หวานน้อย และสดชื่นจึงสามารถดื่มได้ทุกวัน แม้ว่าจะมีราคาถูกและถือได้ว่าเป็นชาเกรดต่ำ แต่ด้วยรสชาติกลาง ๆ จึงเป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมาก
6. โฮจิฉะ [ ほうじ茶 :Hojicha ]
โฮจิฉะ เป็นการนำใบและก้านชา เซนฉะ และบันฉะ ไปคั่วผสมรวมกันด้วยไฟแรงจนกลายเป็นสีน้ำตาลทองเพื่อให้ได้กลิ่นหอม จากนั้นจะถูกนำเข้าเครื่องคั่วชาเพื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 200 องศาจนเกิดกลิ่นหอมของชาคั่ว แล้วถูกทำให้เย็นลงทันที
กลิ่นหอมทำให้สดชื่นในปากจึงเป็นที่นิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายหลังมื้ออาหาร โฮจิฉะมีคาเฟอีนและแทนนินต่ำ จึงสามารถดื่มได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
7. ทามะเรียวคุฉะ [ 玉緑茶 :Tamaryokucha ]
ทามะเรียวคุฉะ กระบวนการผลิตไม่แตกต่างกับเซนฉะมากนัก แต่จะใส่ใบชาลงในถังหมุนและทำให้แห้งด้วยลมร้อน และไม่มีขั้นตอนการนวดใบชาขณะทำการตากให้แห้ง ดังนั้นใบชาจึงเป็นลักษณะโค้งงอ เป็นกลม ๆ เรียกอีกอย่างว่า มุชิกุริ (ムシグリ) หรือ กุริฉะ (ぐり茶) โดดเด่นด้วยรสชาติกลมกล่อมและมีความฝาดเล็กน้อย
8. เกนไมฉะ [ 玄米茶 :Genmaicha ]
เกนไมฉะ เป็นชาที่มีข้าวคั่วผสมอยู่ โดยใช้เซนฉะและบันฉะ ใส่ผสมลงไปในปริมาณใกล้เคียงกัน ทำให้เวลาดื่มจะได้กลิ่นหอมของข้าวคั่วพร้อมกับรสชาติอันสดชื่นของเซนฉะและบันฉะ เนื่องจากปริมาณของเซนฉะและบันฉะที่ใช้ลดลงเพราะมีส่วนผสมของข้าวคั่วด้วย ทำให้ชาชนิดนี้มีคาเฟอีนน้อยจึงเหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ
ที่มา ocha.tv shop.senchado.jp minorien.jp syunpou.com